คุณสมบัติของพนักงาน
รายละเอียดคุณสมบัติของพนักงาน
- ชาย อายุระหว่าง 21-45 ปี สูง 160 ซ.ม. ขึ้นไปหรือ ผ่านการเป็นทหารและฝึกอบรมมาอย่างดี
- หญิง อายุระหว่าง 20-45 ปี สูง 160 ซ.ม. ขึ้นไป
- วุฒิการศึกษาขั้นต่ำ มัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่า และ ผู้ที่เคยปฏิบัติงานด้าน รปภ. มาก่อน
- ไม่เคยต้องโทษคดีอาญา หรือคดีร้ายแรง ทางบริษัทได้มีการตรวจสอบประวัติพนักงานทุกคนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ต้องมีบุคคลค้ำประกันที่เชื่อถือได้และมีถิ่นฐานที่อยู่ที่แน่นอน
- ต้องผ่านการทดสอบร่างกายและสัมภาษณ์จากผู้ที่เชี่ยวชาญ ของบริษัทและลงความเห็นว่าเหมาะสมกับการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยและผ่านกระบวนการฝึกอบรมวิชาชีพรักษาความปลอดภัยและเสริมทักษะไหวพริบด้านการบริการและการพูดจาให้เหมาะกับแต่ละหน้างานที่บริษัทดูแล
- ต้องไม่ติดยาเสพติด การพนัน และโรคติดต่อ ที่สังคมรังเกียจ
- ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่บริษัทเข้าพบ”ผู้ว่าจ้าง”จะต้องมีการประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ทำการติดต่อดูแลหน้างานเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน
การแต่งกายของพนักงาน
การแต่งการมี 2 แบบ

พนักงานรักษาความปลอดภัย (ลูกแถว) เสื้อสีฟ้า

พนักงานรักษาความปลอดภัย เสื้อสีดำ
อุปกรณ์ / เครื่องแบบ
เครื่องแบบและอุปกรณ์เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
เครื่องแบบประจำ บริษัท รักษาความปลอดภัย เอสเอส จำกัด จะเป็นผู้ดำเนินการกำหนดเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทฯ ต่อไปนี้
- กางเกงสีดำ เสื้อแขนสั้นสีฟ้า,สีดำ
- แขนเสื้อด้านซ้าย ติดอาร์ม เครื่องหมายของบริษัท ฯ ทั้งสองข้าง
- เน็คไท ติดอาร์มเครื่องหมายบริษัท ฯ
- สายนกหวีดสีเหลือง
- รองเท้าหนังสีดำ
- อาวุธประจำกายกระบอง หรือปืนและกุญแจมือ
- ไฟฉายตรวจการตอนกลางคืน
หน้าที่และความรับผิดชอบ
- แขนเสื้อด้านซ้าย ติดอาร์ม เครื่องหมายของบริษัท ฯ ทั้งสองข้าง
มีความสำคัญในการควบคุมประจำหน่อยงานและบริหารทีม ทำหน้าที่ประสานการทำงานกับลูกค้าหรือตัวแทนให้เกิดความเรียบร้อยในแต่ละวัน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ในการควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในแต่ละผลัดว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะปฏิบัติงานอย่างมีวินัย ตรงต่อเวลาและมีประสิทธิภาพ - สายตรวจ
1.) สายตรวจโซน มีหน้าที่หลักในการเข้าตรวจสอบหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน ให้คำแนะนำและตรวจสอบการทำงานของหัวหน้าชุดควบคุม และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพในการทำงานตามข้อกำหนด หรือที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้า โดยสายตรวจจะปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง
2.) สายตรวจปฏิบัติการพิเศษ มีบทบาทสำคัญในการเป็นกำลังสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือ ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและลดการสูญเสีย พนักงานรักษาความปลอดภัยของ บริษัท รักษาความปลอดภัย เอสเอส จำกัด ทุกคน มีขีดความสามารถในการรับมือกับเหตุการณ์ไม่ปกติต่าง ๆ การควบคุมและรักษาสถานที่เกิดเหตุ การดำเนินการหลังเกิดเหตุ วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้และการอพยพ ยังสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในด้วยต่างๆ ให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสถานที่ที่พักอาศัยระดับสูง หรือสถานที่พักผ่อนต่างๆนอกจากนั้นพนักงานรักษาความปลอดภัยขอ บริษัท รักษาความปลอดภัย เอสเอส จำกัด ทุกคนยังมีการตรวจประวัติอาชญากร และตรวจสารเสพติดพนักงานทุกคนตามหน่วยงานต่าง ๆ ตามวงรอบโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า และพนักงานทุกคนได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีในการรับมือกับเหตุการณ์เหนือความคาดหมายต่าง ๆ ในกรณีที่มีการบุกรุก ทีมงานจะรักษาพื้นที่เกิดเหตุอาชญากรรม พร้อมแจ้งให้ตำรวจและลูกค้าให้ทราบเรื่อง และจะตรึงกำลังอยู่ในพื้นที่จนกว่าอาคารจะกลับสู่สภาวะปกติ
การดูแล “ผู้ว่าจ้าง”
พนักงานรักษาความปลอดภัยของ บริษัท รักษาความปลอดภัย เอสเอส จำกัดได้รับการอบรมด้านการจัดการควบคุมการเข้าออกอาคาร การตรวจสอบค้นหาและการควบคุมการจราจร พนักงานของ บริษัท รักษาความปลอดภัย เอสเอส จำกัด จึงสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ไปจนการอบรมระดับสูงอาทิ การเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของโรงแรม ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองต่อทุกความต้องการของลูกค้า
1. ควบคุม ดูแลป้องกัน รักษา ชีวิตและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ให้รอดพ้นจาก โจรกรรม วินาศกรรมและอัคคีภัย ตลอด 24 ชั่วโมง
2.ควบคุม ดูแล รักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณที่รับผิดชอบตลอด 24 ชั่วโมง
3.ควบคุม ดูแล การผ่านเข้า – ออก ของยานพาหนะและบุคคลภายนอก
4.ตรวจเช็คทรัพย์สินที่จะนำเข้า หรือส่งออกภายในบริเวณที่รับผิดชอบทุกครั้ง
5.ควบคุมทำนวยความสะดวกในการจราจร ทางเข้า – ออก และภายในบริเวณพื้นที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสถานที่ควบคุมยานพาหนะ
6.ตรวจค้นพนักงานของผู้ว่าจ้าง เมื่อ เลิกงานหรือก่อนที่จะออกไปนอกบริเวณบริษัทฯ โรงงานหรือกิจการอื่น ๆ ของผู้ว่าจ้าง เพื่อป้องกันการทุจริตทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างออกไปภายนอกสถานที่ การตรวจค้นจะให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้หญิงเป็นผู้ตรวจค้น
7.การควบคุมการตอกบัตร ลงเวลา เข้า – ออก ในการทำงานของพนักงานผู้ว่าจ้างควบคุมการตอกบัตรแทนกัน ควบคุมการทุจริตในเวลาการทำงาน
8.ในช่วง วัน เวลา ที่บริษัทฯ โรงงานฯลฯ ปิดทำการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะคอยดูแลห้ามไม่ให้บุคคลภายนอก และพนักงานของบริษัทฯ โรงงาน ฯลฯ เข้ามาภายในบริเวณสถานที่ดังกล่าวโดยเด็ดขาด
9.เปิด – ปิด ประตู เข้า – ออกของอาคารสถานที่ตามวันเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้
10.เปิด – ปิด ไฟฟ้า แสงสว่าง ตามวันเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้
11.ในช่วงเวลายามวิกาล เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะเดินตรวจตราตามจุดต่างๆ ภายในบริเวณที่รับผิด ชอบของหน่วยงานตลอดเวลาทุก 1 ชั่วโมง
12.หน่วยงานใดที่มีหัวหน้าชุดคอยควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ภายในหน่วยงานหัวหน้าชุดจะเป็นผู้เดินตรวจดูการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามจุดต่างๆตลอดระยะเวลาที่รับผิดชอบ และประสานงานกับผู้ว่าจ้างกรณีที่มีเหตุการณ์ ต่าง ๆเกิดขึ้น
13.ควบคุมอุปกรณ์ดับเพลิง และสถานที่ต่าง ๆ ภายในหน่วยงานที่อาจจะทำให้เกิดอัคคีภัยได้
14.เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องบันทึกรายงานการปฏิบัติหน้าที่ทุกจุดทุกชั่วโมง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นรายงานเสนอต่อผู้ว่าจ้างเป็นประจำทุกวัน เพื่อจะได้หาวิธีแก้ไปปัญหาหรือข้อบกพร่อง ต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อต้องการไห้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นเพียงหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและนโยบายของผู้ว่าจ้างโดยเคร่งครัดอีกด้วย
ให้พนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทและห้ามต่อไปนี้
1.1 ห้ามยืนพิงหรือท้าวสิ่งใด ต้องยืนอย่างสง่าผ่าเผยองอาจอยู่ตลอดเวลา | 1.2 ห้ามยืนอ่านหนังสือ หรือขีดเส้นใดๆอันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ |
1.3 ห้ามหลับหรืองีบในขณะปฏิบัติหน้าที่ | 1.4 ห้ามดื่ม หรือกินขนม หรือกินอาหารขณะปฏิบัติหน้าที่ |
1.5 ห้ามเหม่อมองดูสิ่งใดจนเพลิดเพลินหรือนานเกินควร กระตือรือร้น | 1.6 ห้ามสูบบุรี่ขณะปฏิบัติหน้าที่ |
1.7 ห้ามเดินเสียงดังในลักษณะก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้อื่น | 1.8 ห้ามดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ |
1.9 ห้ามใช้กิริยาวาจาหยาบคาบ หรือส่งเสียงในลักษณะที่ไม่สมควร | 1.10 ห้ามสวมแว่นตาสีไม่สุภาพ หรือกรอบสีฉุดฉาด |
1.11 ห้ามรับเงินหรือของกำนันใดๆโดยเด็ดขาด | 1.12 ห้ามสนิทสนมกับพนักงานของผู้ว่าจ้างเป็นการส่วนตัวเกินความจำเป็น |
1.13 ห้ามดัดแปลงหรือต่อเติมเครื่องแบบ | 1.14 ห้ามรับฝากสิ่งของใดๆ |
1.15 ห้ามหยิบใช้ หรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือหรือสินค้าทุกชนิดของผู้ว่าจ้าง | 1.16 ห้าม ฟังวิทยุ หรือร้องเพลงขณะปฏิบัติหน้าที่ |
1.17 ห้ามดูทีวี หรือร้องเพลงในขณะปฏิบัติหน้าที่ | 1.18 ห้ามทิ้งจุดที่รับผิดชอบในขณะปฏิบัติหน้าที่ |
1.19 ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด | 1.20 ห้ามไอ หรือจาม ด้วยอาการอันเสียงดังในขณะปฏิบัติหน้าที่ |
1.21 ห้ามทะเลาะกับพนักงานของหน่วยงานและ รปภ. | 1.22 ห้ามนำบุคคลภายนอกเข้าไปหน่วยงาน |
1.23 ห้ามออกก่อนเวลา | 1.24 ห้ามไว้ผมยาวเกินความจำเป็น |
1.25 ห้ามกระทำการทุจริต หรือกระทำการส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ | 1.26 ห้ามหยอกล้อกันและแสดงกริยาไม่อันควรในหน่วยงาน |
1.27 ห้ามแต่งฟอร์มที่สกปรก หรือไม่เรียบร้อยมาปฏิบัติหน้าที่ | 1.28 ห้ามละเมิดกฎระเบียบของบริษัท |
1.29 ห้ามเข้าไปในหน่วยงานที่ประจำอยู่ เมื่อพ้นหน้าที่หรือวันหยุด | 1.30 ห้ามพูดคุยกับผู้อื่นในเรื่องอันไม่เกี่ยวกับหน้าที่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ |
1.31 ห้ามเล่นเกมส์สนุกใดๆ | 1.32 ห้ามนินทาว่าร้ายหรือใส่ความผู้บังคับบัญชา ในทางเสื่อมเสีย |
1.33 ห้ามนำทรัพย์สินของบริษัทฯ หรือหน่วยงานไปใช้เป็นการส่วนตัว | 1.34 ห้ามเรี่ยไร หรือ รับบริจาคสิ่งใดๆ ต่อผู้อื่น |
1.35 ห้ามแบ่งพรรคพวก หรือกระทำการใดๆ ในลักษณะทำให้เกิดแตกความสามัคคี | 1.36 ห้ามเล่นอาวุธ (หากมี) |
1.37 ห้ามแสดงกิริยาอันเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ว่าจ้าง | 1.38 ห้ามนั่งหรือนอนในหน่วยงาน |
1.39 ห้ามแสดงอาการเกียจคร้าน เช่น บิดขี้เกียจ หาว หรือแสดงอาการเหนื่อยอ่อน | 1.40 ห้ามกล่าวคำเท็จ |
1.41 ห้ามแสดงกิริยาท่าทางส่อไปในทางชู้สาวกับผู้ที่มาติดต่อในขณะปฏิบัติหน้าที่ | 1.42 ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปหน่วยงานของบริษัท |
1.43 ห้ามนำสิ่งผิดกฎหมายทุกชนิดเข้ามาในหน่วยงานของผู้ว่าจ้าง หรือบริษัทฯ | 1.44 ห้ามจับกลุ่มคุยกัน |
1.45 ห้ามว่างสิ่งของไว้ขวางทางหรือกีดขวางหรือทำให้สกปรกเกิดขึ้นในหน่วยงานและบริษัท | 1.46 ห้ามไว้หนวดเครา |
1.47 ห้ามถอดเครื่องแบบ หรือส่วนประกอบของเครื่องแบบออก ก่อนพ้นหน้าที่ | 1.48 ห้ามเปิดเผยความลับของบริษัท |
ให้พนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทและห้ามต่อไปนี้
จุดบกพร่องของพนักงาน | ข้อแก้ไข |
1.ยืนพิงผนัง อาคาร ตู้กระจกหรือรถลูกค้า | 1.ไม่ควรยืนพิงผนัง อาคาร ตู้กระจก หรือรถลูกค้า |
2.มีลักษณะการยืนไม่เข็มแข็ง | 2.การยืนควรยืนให้เข้มแข็ง และสง่างาม |
3.ร้องเพลงขณะปฏิบัติงาน | 3.ควรยืนในลักษณะอาการสงบ |
4.ท่าทางเฉื่อยช้า | 4.จะต้องมีความกระฉับกระเฉงเสมอ |
5.ไม่ให้เกียรติลูกค้า | 5.ให้เกียรติลูกค้าทุกระดับที่มาใช้บริการ |
6.จับกลุ่มคุยกัน | 6.ไม่ควรพูดคุยในขณะปฏิบัติงาน |
7.แสดงกิริยาท่าทางที่ก้าวร้าว | 7.ควรแสดงกิริยาท่าทางที่สุภาพ อ่อนน้อม |
8.พูดจาไม่ไพเราะ | 8.พูดจาให้ไพเราะ และมีหางเสียง |
9.ไม่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ | 9.ควรอยู่ประจำพื้นที่ ที่รับผิดชอบ |
10.ดื่มสุราหรือสูบบุรี่ขณะปฏิบัติหน้าที่ | 10.ไม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงาน |
11.แต่งกายไม่สุภาพ | 11.ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย |
12.ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทฯ | 12.ควรปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทฯ |
13.ร่างกายไม่สะอาด | 13.ต้องรักษาความสะอาด |
14.ไม่สนใจดูแลสอดส่องทรัพย์สินขอบริษัทฯ | 14.ตั้งใจสอดส่อง ดูแลทรัพย์สินของบริษัทฯ |
15.นอนหลับขณะปฏิบัติหน้าที่ | 15.ตื่นตัวเสมอในขณะทำงาน |
16.ไม่สนใจผู้บริหารของบริษัท | 16.สนใจผู้บริหารของบริษัท |